ตลอดช่วงชีวิตของเราแม้จะพยายามหลีกเลี่ยงการเจ็บป่วยหรือปัญหาสุขภาพมากขนาดไหน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่านี่คือสิ่งหนึ่งที่เราอาจต้องพบเจอไม่ช่วงเวลาใดก็ช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต
● วัยทารก ช่วงเวลาอันแสนบอบบางที่การเจ็บป่วยเกิดได้ง่ายที่สุด เหมาะกับประกันสุขภาพ และประกันอุบัติเหตุ
● วัยรุ่น วัยแห่งการทดลองสิ่งใหม่ ๆ ชอบเสี่ยง ชอบลอง ชอบผจญภัย ที่อาจนำพาเราไปพบเจอกับโรคภัยไข้เจ็บใหม่ ๆ หรือการบาดเจ็บที่ไม่คาดฝัน เหมาะกับประกันอุบัติเหตุ
● วัยทำงาน เมื่อเกิดความเครียดสะสม ประกอบกับการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำงานหนัก ก็อาจนำมาซึ่งอาการเจ็บป่วยที่ไม่อาจคาดเดา เหมาะกับประกันสะสมทรัพย์
● วัยกลางคน เมื่อร่างกายถูกใช้งานมาอย่างหนัก ก็อาจนำมาซึ่งโรคร้ายที่ส่งผลต่อการทำงานและรายได้ และไม่เพียงแต่เราเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แต่ยังอาจหมายรวมถึงครอบครัวและคนข้างหลังที่ฝากชีวิตไว้กับเราอีกด้วย เหมาะกับประกันโรคร้ายแรง และประกันบำนาญ
● วัยชรา เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายก็อ่อนแอและเสื่อมสภาพลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การจะต่อสู้กับอาการเจ็บป่วยหรือโรคร้ายก็ยิ่งทำได้ยากขึ้น เหมาะกับประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ
ประกันสะสมทรัพย์
หลายคนรู้ว่าการมีประกันเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ยังผัดวันประกันพรุ่งในการทำประกันออกไปเรื่อย ๆ เพราะไม่ใช่สิ่งที่ถูกบังคับว่าต้องมี
แต่รู้หรือไม่ว่า มีกรณีต่าง ๆ ที่เป็นผลกระทบจากการผัดวันทำประกันไปเรื่อย ๆ เกิดขึ้นทุกวัน เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้นโดยที่ยังไม่ได้ทำประกัน ในที่สุดก็สายเกินไป เพราะไม่สามารถทำประกันสุขภาพและประกันโรคร้ายแรงได้แล้ว เนื่องจากมีปัญหาสุขภาพเสียก่อน
โดยเฉพาะเมื่อคุณมีอายุที่มากขึ้น นอกจากเบี้ยประกันภัยจะมีราคาสูงขึ้นตามอายุแล้ว โอกาสของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บก่อนที่คุณจะมีประกันไว้ครอบครองก็สูงขึ้นด้วยเช่นกัน
มีผู้คนมากมายที่เข้าใจว่าตัวเองนั้นมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง จึงไม่จำเป็นต้องมีประกันสุขภาพหรือประกันโรคร้ายแรง เพราะมีไปก็ไม่ได้ใช้ ทำประกันเหล่านี้ไปก็เหมือนกับการจ่ายเบี้ยฯ ทิ้งไปเปล่า ๆ แต่ในทางกลับกันเราอาจลืมไปว่าประกันสุขภาพและประกันโรคร้ายแรงนั้นจะคุ้มครองเราอย่างครอบคลุม ก็ต่อเมื่อเราได้เริ่มทำประกันไว้ในขณะที่ยังมีร่างกายที่แข็งแรง
ดังนั้นแล้วหากจะถามว่าเราควรซื้อประกันตอนอายุเท่าไหร่ คำตอบก็คือ เราควรซื้อประกันในวันที่เรามีสุขภาพที่แข็งแรงที่สุด ซึ่งก็คือ “วันนี้”