ประกันชีวิต คือหนึ่งในเครื่องมือบริหารความเสี่ยง

ประกันชีวิต คือหนึ่งในเครื่องมือบริหารความเสี่ยง

รู้หรือไม่? “ประกันชีวิต” คืออีกหนึ่งเครื่องมือบริหารความเสี่ยงที่ดีมากๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของผลตอบแทน รวมทั้งการคุ้มครองตอนเจ็บไข้ได้ป่วย และยังเป็นทุนสำรองสำหรับคนที่อยู่ข้างหลัง เพียงเจียดเงินสัก 10% ของรายได้ เราอาจได้สิ่งที่คุ้มค่าเมื่อยามจำเป็นและลดภาระกับความไม่แน่นอนในอนาคตได้

ลองมา “วางแผนประกัน” กันดูไหม? 

หลายคนที่มีปัญหาการบริหารจัดการเงิน ใช้เงินแบบเดือนชนเดือน จนไม่มีเงินเหลือสำหรับออมเงินเลย ซึ่งปัญหาของคนกลุ่มนี้มักไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเงินของเราหายไปไหนหมด ดังนั้น “การวางแผนการใช้จ่าย” สิ่งที่ต้องทำอันดับแรกคือ สำรวจภาระว่าตอนนี้เรามีภาระอะไรบ้างทั้งค่าใช้จ่ายและหนี้สินต่างๆ แล้วเริ่มการทำบัญชีรายรับรายจ่ายของแต่ละวัน เพื่อให้เราเห็นว่านิสัยการใช้เงินของเราเป็นอย่างไร และเงินรั่วไหลตรงไหน เมื่อเรารู้ว่ามีรูรั่วที่จุดใด ก็จะสามารถวางแผนปิดรูรั่วนั้นได้ ทำให้มีเงินเหลือออมมากยิ่งขึ้น

ลองมาเช็ก “ภาระหนี้สินที่มีอยู่” ว่าตอนนี้เยอะเกินไปหรืออยู่ในช่วงที่ปลอดภัยดีด้วย 3 สูตรคำนวณดังนี้

– สูตรคำนวณหนี้สินต่อสินทรัพย์ = (หนี้สินรวม ÷ สินทรัพย์รวม) x 100

เป็นการบอกว่าหนี้สินในปัจจุบันมากน้อยแค่ไหนเมื่อเทียบกับสินทรัพย์ทั้งหมด ซึ่งไม่ควรมีเกิน 50% ของสินทรัพย์รวมทั้งหมด ถ้ามีหนี้มากเกินไป ก็ควรจะลดหนี้ที่มีลง และยิ่งอายุมากขึ้นก็ควรที่จะมีค่าน้อยลง

– สูตรคำนวณภาระหนี้สินต่อเดือน = (ภาระผ่อนหนี้ต่อเดือน ÷ รายได้รวมต่อเดือน) x 100

เราควรมีสัดส่วนหนี้สินไม่เกิน 1 ใน 3 ของรายได้ต่อเดือน หรือไม่ควรเกิน 35 – 45% ของรายได้รวมต่อเดือน เพื่อให้ยังมีเงินไว้เก็บออมและนำไปใช้จ่ายในแต่ละเดือน

– สูตรคำนวณภาระหนี้สินที่ไม่ใช่การจดจำนองต่อเดือน = ((ภาระผ่อนหนี้ต่อเดือน – หนี้อสังหาฯ ต่อเดือน) ÷ รายได้รวมต่อเดือน)) x 100

เป็นการดูภาระหนี้สินต่อเดือนที่หักออกด้วยหนี้อสังหาฯ ซึ่งภาระหนี้สินที่ไม่ใช่การจดจำนอง จะมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า ดังนั้นจึงไม่ควรเกิน 15 – 20% ของรายได้รวมต่อเดือน

“วิธีทำประกันไม่ให้รู้สึกว่าเป็นภาระ”

คือทำแบบพอดีๆ มีกำลังทรัพย์ทีต้องสมดุลสามารถส่งไปตลอด เพราะการทำประกันอาจต้องใช้ระยะเวลานาน และถือเป็นค่าใช้จ่ายระยะยาว เราจึงต้องคำนวณรายรับรายจ่ายของตนเองในแต่ละเดือนหรือปีนั้นว่ามีกำลังส่งเบี้ยประกันภัยได้เท่าไหร่ แต่ถ้าลองเจียดเงินสัก 10% ของรายได้มาทำประกัน ก็ถือว่าไม่มากเกินไป และเมื่อมีรายได้มากขึ้นค่อยทยอยซื้อประกันเพิ่มขึ้นนั่นเอง

ซื้อประกันควรซื้อตรงกับความต้องการและวัตถุประสงค์ของตนเอง

ควรถามตัวเองว่า ความต้องการมีอะไรบ้าง ทำการเขียนออกมาเป็นข้อๆ ยกตัวอย่างเช่น บางคนไม่เน้นผลตอบแทนคืน แต่ขอให้ตอนเจ็บไข้ได้ป่วยได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด ก็ควรซื้อประกันสุขภาพ สำหรับคนที่ต้องการความคุ้มครองชีวิตโดยมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนด้วย ก็อาจจะซื้อประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Linked) ในขณะที่บางคนนึกถึงคนที่อยู่ข้างหลังมาก ก็ควรซื้อประกันที่มีความคุ้มครองสูง เป็นต้น เพราะฉะนั้นการซื้อประกันที่ตอบโจทย์นั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคนจริงๆ เราควรทำการเช็กลิสต์ความต้องการของตัวเองให้ดีที่สุด

สำหรับคนที่มองหาประกันชีวิตควบการลงทุนที่ให้อิสระ ปรับเปลี่ยนได้ทุกช่วงของชีวิต เหมาะสำหรับคนต้องการเน้นความคุ้มครองชีวิตและสุขภาพ และสามารถเลือกการลงทุนได้ เอไอเอ ขอแนะนำ AIA Issara Plus (Unit Linked)

จุดเด่น

ㆍคุ้มครองชีวิตสูง และ มีความคุ้มครองกรณีทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง**

ㆍยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนความคุ้มครอง และ หยุดพักชำระเบี้ยฯ ได้***

ㆍให้อิสระในการเลือกลงทุนได้ด้วยตัวเอง

ㆍสามารถแนบสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพ แบบ UDR ได้

ㆍค่าธรรมเนียมการประกันภัยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้

หากสนใจทำประกัน AIA Issara Plus (Unit Linked) กดติดต่อกลับเพื่อกรอกแบบฟอร์ม ให้ตัวแทนแนะนำแบบประกันที่เหมาะกับคุณ

*เบี้ยประกันชีวิตสามารถหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด

**การจ่ายผลประโยชน์กรณีทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงนี้จ่ายเพียงครั้งเดียวตลอดอายุกรมธรรม์และกรมธรรม์จะยังมีผลบังคับต่อไป ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขกรมธรรม์

***สามารถหยุดพักชำระเบี้ยได้ เมื่อชำระเบี้ยประกันภัยหลัก (RPP) และมีอายุกรมธรรม์ครบ 3 ปี

หมายเหตุ

• ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาและทำความเข้าใจในเอกสารเสนอขายก่อนตัดสินใจทำประกันภัย เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้ว โปรดศึกษารายละเอียด ข้อกำหนดและเงื่อนไขในกรมธรรม์

• ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์

• การตรวจสุขภาพและการพิจารณารับประกันภัยให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด

• การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะผลิตภัณฑ์ เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองทุนรวมภายใต้กรมธรรม์เอไอเอ ยูนิต ลิงค์ (aia.co.th)

• ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

ขอบคุณ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ที่มา : https://distribution.aia.co.th/th/iSay/Product_Aug_156.htm

สนใจทำประกัน เอไอเอ กดติดต่อกลับเพื่อกรอกแบบฟอร์ม ให้ตัวแทนแนะนำแบบประกันที่เหมาะกับคุณ

Scroll to Top