ประกันสุขภาพแบบไหนเหมาะกับเรา?

ประกันสุขภาพแบบไหนเหมาะกับเรา?

เรื่องสุขภาพมันไม่เข้าใครออกใคร ไม่มีใครคาดเดาได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเราบ้าง วันนี้สบายดี แข็งแรงสุด ๆ พรุ่งนี้อาจป่วยเข้าโรงพยาบาลกระทันหันก็ได้ หรือใครที่ไม่สบายบ่อย เข้า-ออกโรงพยาบาลเป็นประจำ ถ้าจะให้ดี มีประกันสุขภาพไว้ อุ่นใจและสบายกระเป๋ากว่าเยอะ!

ตามมาดูกันดีกว่า จะเลือกประกันสุขภาพทั้งที ต้องพิจารณาอะไรบ้าง

ปัจจัยที่ต้องพิจารณาก่อนเลือก

1. ประวัติสุขภาพของเรา

เริ่มต้นด้วยขั้นตอนที่สำคัญที่สุด นั่นคือการพิจารณาประวัติสุขภาพของตัวเองและครอบครัวก่อนว่ามีโรคประจำตัวอะไรบ้าง? อายุเท่าไหร่? เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลบ่อยไหม และส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคอะไร? การรู้เรื่องเหล่านี้จะช่วยให้คุณประเมินความเสี่ยงและความต้องการของคุณได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น

2. สวัสดิการที่มี

หลายคนอาจคิดว่ามีสวัสดิการสุขภาพจากที่ทำงานอยู่แล้ว ไม่ว่าจะประกันสังคม หรือ ประกันกลุ่ม แล้วจะทำประกันเพิ่มทำไม? จริง ๆ แล้วการมีประกันสุขภาพเสริม สามารถเพิ่มความคุ้มครองในการรักษาพยาบาล ช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนที่ต้องจ่ายเพิ่ม และช่วยให้เข้าถึงการรักษาพยาบาลได้มากยิ่งขึ้น 

3. เงื่อนไขความคุ้มครอง

อย่าลืมอ่านและทำความเข้าใจข้อมูลต่าง ๆ ในกรมธรรม์ให้ดี ย้ำว่า! ‘เข้า ใจ ให้ ดี’ ไม่ว่าจะเป็นข้อกำหนดและเงื่อนไขความคุ้มครองในกรมธรรม์ประกัน เงื่อนไขในการเคลม อะไรบ้างที่เบิกได้? อะไรบ้างที่ต้องจ่ายเอง? รวมถึงระยะเวลาความคุ้มครองด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในอนาคต 

แบบเหมาจ่าย vs แบบแยกค่าใช้จ่าย

แผนประกันสุขภาพหลัก ๆ จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ ‘แบบเหมาจ่าย’ และ ‘แบบแยกค่าใช้จ่าย’ ดังนั้นทางเราจะขออธิบายและสรุปให้สั้น ๆ แบบเข้าใจง่ายที่สุด! ว่าประกันสุขภาพ 2 แบบนี้แตกต่างกันอย่างไร

ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย

เป็นประกันสุขภาพที่มีวงเงินค่ารักษาพยาบาลแบบเหมาจ่ายต่อรอบปีกรมธรรม์ โดยไม่มีการกำหนดแยกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ออกเป็นแต่ละรายการจึงทำให้มีวงเงินความคุ้มครองโดยรวมที่ค่อนข้างสูง และทำให้มีโอกาสครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลได้มากกว่า ประกันสุขภาพในลักษณะนี้จะให้คุณเคลมค่ารักษาพยาบาลตามจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยสูงสุด ซึ่งเราก็จะไม่ต้องมาคอยกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในยามที่เจ็บป่วยจนต้องไปนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล

ประกันสุขภาพแบบแยกค่าใช้จ่าย

ประกันสุขภาพแบบนี้จะให้ผู้เอาประกันภัยเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามวงเงินความคุ้มครอง โดยขึ้นอยู่กับแผนประกันแต่ละแบบที่เราเลือก ซึ่งจะมีการกำหนดวงเงินความคุ้มครองในแต่ละรายการแยกไว้ด้วย เช่น ค่าห้อง ค่าผ่าตัด ค่ายา เป็นต้น สามารถเคลมได้ต่อครั้งและต่อโรค 

เป็นยังไงกันบ้าง! เห็นได้ว่าประกันแต่ละแบบจะมีจุดเด่นและตอบโจทย์กันคนละแบบ แล้วแบบนี้เราต้องเลือกยังไง?

สำหรับคนที่ต้องการความสบายใจ หมดกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายและค่ารักษาพยาบาลเพิ่มเติม แถมไม่ต้องมานั่งคำนวณวงเงินความคุ้มครองต่าง ๆ ขอแนะนำ 

ประกันสุขภาพ AIA Health Saver ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย1 ที่คุ้มครองทั้งกรณีผู้ป่วยนอก (OPD) และผู้ป่วยใน (IPD) 

● เหมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 500,000 บาท 1

● เพิ่มความคุ้มครองเป็น 2 เท่า เมื่อตรวจพบ 6 โรคร้ายแรงยอดฮิต3  รวม 4 ปีกรมธรรม์

● เบี้ยประกันภัยเริ่มต้นเพียงเดือนละ 575 บาท4

● คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในกรณีผู้ป่วยนอก (OPD) 5 สูงสุดถึง 30 ครั้ง ต่อรอบปีกรมมธรรม์ 6

● ดูแลและให้ความคุ้มครองคุณอย่างยาวนานและต่อเนื่อง สูงสุดถึงอายุ 99 ปี

ส่วนใครที่อยากได้ประกันสุขภาพที่ให้ทั้งความคุ้มครอง OPD และ IPD พร้อมเงื่อนไขเงินคืนพิเศษ เมื่อไม่การเคลมใด ๆ ในรอบปีกรมธรรม์ ขอแนะนำ

ประกันสุขภาพ AIA H&S Extra (new standard) ประกันสุขภาพแบบแยกค่าใช้จ่าย ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล ทั้งผู้ป่วยนอก (OPD) และผู้ป่วยใน (IPD)  คุ้มครองทั้งกรณีเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และไม่พักรักษาในโรงพยาบาล  ไม่เพียงเท่านั้น แบบประกันนี้ยังมีเงื่อนไขพิเศษ “ไม่เคลม มีเงินคืน” คือ หากไม่มีการเคลมใด ๆ ในรอบปีกรมธรรม์ รวมทั้งได้มีการชำระเบี้ยประกันภัยในรอบกรมธรรม์ถัดไปโดยไม่มีการขาดอายุหรือยกเลิกสัญญา ผู้เอาประกันภัยก็จะได้รับผลประโยชน์เงินคืนพิเศษ 7

● ค่าห้อง ค่าอาหาร บริการโรงพยาบาล สูงสุดวันละ 6,500 บาท 8

● ค่าแพทย์สูงสุดวันละ 1,200 บาท 9

● ค่าผ่าตัดและหัตถการสูงสุดครั้งละ 120,000 บาท

● ค่ารักษาพยาบาลอื่นๆ (เช่น ค่ายา น้ำเกลือ ค่าเวชภัณฑ์ ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ ค่าพยาบาลประจำวัน) สูงสุดครั้งละ 40,000 บาท ต่อการรักษาครั้งใดครั้งหนึ่ง

● ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก (OPD) สูงสุดปีละ 9,000 บาท 10

สนใจประกันสุขภาพ AIA Health Saver และ AIA H&S Extra (new standard) กดติดต่อกลับเพื่อกรอกแบบฟอร์ม ให้ตัวแทนแนะนำแบบประกันที่เหมาะกับคุณ

 

หมายเหตุ :

– ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการนำเสนอเท่านั้น ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครอง รวมทั้งข้อยกเว้นไม่คุ้มครอง ของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง

– ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์

 

ผลประโยชน์เหมาจ่ายในบางรายการ เมื่อรวมผลประโยชน์ในหมวดที่ 3 – 6 และ 12 ต้องไม่เกินวงเงินต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง / รวมผลประโยชน์ในหมวดที่ 9 – 11 ต้องไม่เกินวงเงินต่อรอบปีกรมธรรม์ 

2 ผลประโยชน์สูงสุดเพิ่มเป็น 2 เท่าของจำนวนเงินเอาประกันภัย ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเข้ารับการรักษาตัวด้วยโรคร้ายแรง เมื่อป่วยเป็นโรคร้ายแรงครั้งแรก สำหรับ (1) ผลประโยชน์สูงสุดในหมวดที่ 2 และผลประโยชน์สูงสุดในหมวดที่ 3 – 6 และ 12 ต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผลประโยชน์ในหมวดย่อยที่ 2.4 และ (2) ผลประโยชน์สูงสุดในหมวดที่ 9 – 11 ต่อรอบปีกรมธรรม์

3 โรคร้ายแรงที่ได้รับความคุ้มครอง ได้แก่ 1) กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด 2) โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน 3) การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ 4) โรคมะเร็งระยะลุกลาม 5) การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก และ 6) การผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ เอออร์ต้า

4 คำนวณจากเบี้ยประกันภัยรายปี 6,900 บาท สำหรับเพศชายอายุ 21 – 25 ปี แผนความคุ้มครอง 200,000 บาท

เป็นผลจากการบาดเจ็บหรือการป่วยแต่ละครั้ง โดยจ่ายตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกินผลประโยชน์ต่อรอบปีกรมธรรม์ตามที่ระบุไว้ในบันทึกสลักหลังผลประโยชน์ ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก

6 เฉพาะแผนความคุ้มครอง 400,000 บาท คุ้มครอง 1,000 บาท/ครั้ง และแผนความคุ้มครอง 500,000 บาท คุ้มครอง 1,500 บาท/ครั้ง

7 กรณีที่ไม่มีการเรียกร้องผลประโยชน์ใด ๆ จากผลประโยชน์กรณีผู้ป่วยใน หรือผลประโยชน์กรณีไม่ต้องเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน หรือผลประโยชน์ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก หรือผลประโยชน์กรณีเสียชีวิต ภายในรอบปีกรมธรรม์นั้น ๆ (โดยไม่มีการขาดอายุหรือยกเลิกสัญญาเพิ่มเติมนี้ระหว่างปีกรมธรรม์) รวมทั้งได้มีการชำระเบี้ยประกันภัยในรอบปีกรมธรรม์ถัดไปภายในระยะเวลาผ่อนผันชำระเบี้ยประกันภัย ทั้งนี้ กรณีที่ชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายเดือน ต้องชำระเบี้ยประกันภัยอย่างน้อย 3 งวดติดต่อกัน

8 ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) ต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง ห้องผู้ป่วยวิกฤต (ICU) จะจ่ายค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) ให้เป็น 2 เท่า ของผลประโยชน์สำหรับค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) สูงสุดไม่เกิน 30 วัน (รวมกันสูงสุดไม่เกิน 125 วัน)

9 ค่าผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม(แพทย์) ตรวจรักษา ต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง (สูงสุดไม่เกิน 125 วัน)

10 เป็นผลจากการบาดเจ็บหรือป่วยแต่ละครั้ง โดยจ่ายตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกินผลประโยชน์ต่อรอบปีกรมธรรม์ตามที่ระบุไว้ในบันทึกสลักหลังผลประโยชน์ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก

ที่มา : https://distribution.aia.co.th/th/iSay/Product_Oct_194.html

สนใจทำประกัน เอไอเอ กดติดต่อกลับเพื่อกรอกแบบฟอร์ม ให้ตัวแทนแนะนำแบบประกันที่เหมาะกับคุณ

Scroll to Top